ไก่พม่าหนุ่มที่จับมาเลี้ยงใหม่ ๆ ควรเลี้ยงอย่างไร...อันนี้มีคนถามเยอะ..เลยขอแนะนำเทคนิคบางประการนำไปใช้นะครับ..1. ขั้นแรกเราจะต้องทำความคุ้นเคยกับไก่พม่าก่อนโดยจับมาเลี้ยงในสุ่ม กาดน้ำล้างตัวด้วยแซมพูเพื่อไล่ตัวไรให้หมดไป ยายามจับบ่อย ๆ ให้เข้าคุ้นเคย บางตัวเปรียวมากก็ควรขังสุ่มใบเล็กก่อนเพื่อให้จับง่าย..ให้สังเกตว่าเขาเริ่มเชื่องแสดงว่าใกล้จะได้วางแล้ว พอเชื่องจริง ๆ เขาจะคึกค่อยนำไปวาง ถ้าไก่เปรียวนำไปวางบางทีวิ่งหนีเลยไม่สู้เป็ดสู้ไก่อันนี้ต้องระวัง2. อาหารไก่พม่าเลี้ยงใหม่ ๆ ควรใช้ข้าวเจ้าล้างสะอาดขัดด้วยใบตะไคร้ตากให้แห้ง ก็เพียงพอ ถ้าใกลออกชนสองสามสัปดาห์สุดท้ายควรผสมไข่คลุกตากแดดให้แห้งให้กินตอนเย้ฯก่อนเข้านอนไก่จะคึกดี สิ่งที่ขาดไม่ได้ควรให้กินตลอดคือบอระเพ็ดสดวันละ 1-2 ข้อมือ ใครมียาบำรุงก็ตามสูตรตามถนัดไม่ว่ากัน3. การปล้ำวางครั้งแรกควรวางกับไก่ทั่วไปยกเว้นไก่ตีตัวห้ามวาง..วางอ่อน 10นาทีก่อน ให้้ไก่เคยชินการยืนดิน ตัวไหนยืนดินไม่ดี ล้มลุกคลุกคลานให้กลับไปออกกำลังใหม่ปล่อยตาข่ายวิ่งสุ่มเตะเป้าเตะมุ้ง บินหลุ่มบินท่อ เดินนวม ตามสะดวก เน้นหน่อยคือเตะมุ้ง (ก่อนเตะต้องพันก้อยด้วยพลาสเตอร์ทุกครั้งกันก้อยแตก) ปล้ำแต่ละครั้งพัก 2 สัปดาห์หรืออย่างน้อย 10 วัน 4. การปล้ำวางครั้งที่ 2,3,4 ให้วางครั้งละ 1 ยก 20 นาที ถ้าคู่ต่อสู้ไม่ครบยกก็ควรปล่อยเตะนวมต่อให้ครบเวลา พันแข้งไก่ให้หนาทั้งตัวนวมและตัวเลี้ยงชน ปล่อยต่อให้ครบเวลา ฝึกการยืนระยะ ไก่พม่าใหม่ ๆ กำลังขายังไม่ดีเวลาพันนวมควรใช้ฟองน้ำให้เบาแต่หนาหน่อยเป็นการเชฟไก่ล่อ ..เมื่อแข็งแล้วค่อยเพิ่มน้ำหนักนวมขึ้น5. การปล้ำวางครั้ง ที่5 เป็นต้นไปสามารถไล่แข็งได้ตามที่เห็นสมควร พึงระลึกเสมอว่าไก่แต่ลตัวมีความพร้อมแตกต่างกันจะใช้มาตรฐานเดียวกันในการเลี้ยงไม่ได้บางตัวไปเร็วบางตัวเลี้ยงได้ช้า...เพราะโครงสร้างความสมบูรณ์ต่างกัน..ไก่ทุกตัวมีความแตกต่างกันท่านต้องเลี้ยงต่างกัน วิเคราะห์เองคิดเองปรับปรุงเองให้เหมาะสมกับไก่แต่ละตัว มือเลี้ยงต้องเก่งในการสังเกตไก่...บางตัวชอบเลี้ยงหนัก ๆ บางตัวชอบเลี้ยงเบา ๆ ..ดูเอาครับ6. การฝึกไก่พม่าบางลีลา เช่นม้าล่อควรฝึกกับไก่เชิงฝึกให้เขาล่อตามวิธีที่เคยเสนอมาแล้ว ไก่โยกล่างควรฝึกกับไก่เชิงเช่นดียวกันแต่เน้นให้เขาออกแข้งหน้า เช่นดึงไก่นวมถอยบ้างดเพื่อให้เขาออกแข้งหน้าอย่างสม่ำเสมอ ไก่นวมที่เร็วเกินไปก็ไม่ดีเอาพอประมาณให้ไก่พม่าสามารถสาดแข้งเปล่าได้เป็นระยะ ส่วนตัวเร็วจัด ๆ เอามานวมวัดกันตอนไก่พม่าแข็งแล้วใกล้จะออกชนว่าเขาสามารถหลบหลีกได้เร็วขนาดไหน เป็นการประเมินไก่ตนเองในขั้นตอนสุดท้าย7. น้ำหนักไก่พม่าต้องควบคุมอย่างดี ช่วงไหนเขาบินร่อนที่สุดให้บันทึกไว้และจดจำค่าอันนั้นเป็นตัวควบคุมการเลี้ยงอย่าให้เพิ่มมากนัก แต่พึงระวังอย่าให้ลดเด็ดขาด ถ้าไก่น้ำหนักลดลงแสดงว่าไม่สมบูรณ์ห้ามออกชน แต่ถ้าเพิ่มมากไปก็เป็นปัญหาไก่จะไม่บินครับ
นำมาจาก http://www.oknation.net
วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น